Activity

การทำกิจกรรมของสกรัมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นขั้นตอนชัดเจน ตรวจสอบ วัดผลได้ และลดการประชุมที่ไม่จำเป็น การทำสกรัมจะประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1. วางแผนสปรินท์ (Sprint Planing)

https://hygger.io/blog/run-proper-sprint-planning-meeting/

ใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง สำหรับสปรินท์ 2 สัปดาห์ โดยจะแบ่งการวางแผนสปรินท์ออกเป็นสองส่วน

ส่วนที่หนึ่ง: เลือกว่าจะทำงานอะไร

  • Product Owner จะกำหนดเป้าหมายของสปรินท์ว่าจะส่งมอบอะไร เพราะอะไร และเพื่ออะไร ทำให้ทีมเข้าใจว่าต้องทำงานชิ้นไหนบ้างเพื่อให้เกิดอะไร
  • Product Owner เลือก User Story จาก Product Backlog มาแจ้งให้ทีมทราบว่าต้องทำงานชิ้นไหนบ้างเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของสปรินท์
  • Developer จะเลือกงานที่ Product Owner เลือกไว้ใน Product Backlog เข้าสู่ Sprint Backlog เอง เพราะรู้ขีดจำกัดว่างานใดที่สามารถนำไปพัฒนาได้หรือต้องรองานส่วนอื่นเสร็จก่อน และปริมาณงานที่ทีมสามารถพัฒนาได้เสร็จในสปรินท์

ส่วนที่สอง: ออกแบบวิธีว่าจะทำงานอย่างไร

  • Developer ออกแบบแนวทางที่จะใช้ในการพัฒนางานแต่ละชิ้น
  • ระบุส่วนที่ต้องรีบทำก่อนส่วนอื่น(ถ้ามี)
  • แบ่งชิ้นงานขนาดใหญ่ให้เป็นชิ้นงานเล็กๆ
  • อาจทำการประเมินความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนางานใหม่
  • อาจนำผลการประเมินมาจัดเรียงความสำคัญของงานใหม่
  • อาจมีการต่อรองปริมาณใน Sprint Backlog กับ Product Owner ใหม่ หากพบว่าการพัฒนามีความยากกว่าที่ประเมินไว้ในตอนแรก

2. สกรัมประจำวัน (Daily Scrum)

https://standuply.com/blog/daily-standup-meeting-excel-template/

การประชุมประจำวัน (Daily Meeting) หรืออาจะเรียกว่า Standup Meeting เพราะเป็นการล้วมวงยืนประชุมในเวลาสั้นๆ ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที เน้นให้ Developer แจ้งความคืบหน้าในการพัฒนางานแก่กัน

  • เพื่อตรวจสอบและแจ้งความคืบหน้าของงานในสปรินท์
  • เพื่อเป็นการวางแผนทำงานในแต่ละวัน
  • โดยแต่ละคนแจ้งให้ทีมทราบว่า 1.ทำอะไรไปในเมื่อวาน 2.วันนี้จะทำอะไรเพิ่มเติม 3.ปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนา
  • แจ้งให้ทีมทราบหากมีงานอื่นแทรกเข้ามา
  • หากพบปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของสปรินท์ อาจจัดประชุมหลังทำสกรัมประจำวันเพื่อวางแผนงานที่เหลือในสปรินท์ใหม่ โดยอาจเปลี่ยนแปลงสโคปงาน หรือโยกย้ายงานที่จำเป็นน้อยกว่าออกจากสปรินท์
  • Scrum Master ช่วยควบคุมเวลาไม่ให้เกิน 15 นาที และป้องกันไม่ให้คนภายนอกรบกวนการทำสกรัมประจำวัน

3. ตรวจสอบผลลัพธ์ของสปรินท์ (Sprint Review)

https://www.quickscrum.com/Sprint-Review-Meeting

ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง สำหรับสปรินท์ 2 สัปดาห์ ตรวจสอบงานที่พัฒนาและแสดงผลลัพธ์ของงานในสปรินท์ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง(Stakeholders) เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และทบทวน Product Backlog ที่จะทำต่อไปให้สอดคล้องกับโอกาสและสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบัน

  • Product Owner อธิบายว่ามีงานอะไรเสร็จหรือไม่เสร็จ
  • Developer อธิบายการดำเนินงาน และปัญหาที่เกิดขึ้นรวมถึงวิธีที่แก้ไข
  • Demo งานที่พัฒนาขึ้นในสปรินท์
  • พิจารณาคุณค่าของงานที่ได้พัฒนาขึ้นมาและเลือกงานที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ใช้
  • ทบทวนทรัพยากรที่มี ทีมงาน, เวลา, เครื่องมือ, ตลาด
  • ทบทวนทิศทางตลาดและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
  • Product Owner อธิบายงานที่เหลือใน Product Backlog เกริ่นคร่าวๆว่าจะทำอะไรเป็นลำดับต่อไปและจะเสร็จเมื่อไร โดยดูได้จาก Burndown Chart เป็นต้น

4. ตรวจสอบการดำเนินงานของสปรินท์ (Sprint Retrospective)

http://1ab.in/dko

ใช้เวลาไม่เกิน 1.5 ชั่วโมง สำหรับสปรินท์ 2 สัปดาห์ ตรวจสอบการดำเนินงานในสปรินท์ที่จบลง ทั้งในเรื่องของทีมงาน ความสัมพันธ์ภายในทีม ความรู้ เครื่องมือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น

  • โดยแต่ละคนแจ้งให้ทีมทราบว่าสปรินท์ที่จบลงมีอะไรที่ดีและไม่ดีบ้าง
  • จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบของสิ่งที่ไม่ดีและต้องการปรับปรุง
  • ทีมเสนอแนวทางในการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • สรุปวิธีการดำเนินการที่จะใช้ในสปรินท์ถัดไป(ถ้ามี) โดยจะต้องสามารถวัดผลวิธีการดำเนินงานแบบใหม่ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิธีดำเนินงานแบบเก่าว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน
  • Scrum Master เข้าร่วมในสถานะสมาชิกทีม และช่วยควบคุมเวลา

5. ชี้แจงรายละเอียด Product Backlog (Product Backlog Refining)

https://agilecheetah.com/deliver-valuable-solutions-through-scrum-part-iii/

ใช้เวลาไม่เกิน 10% ของสปรินท์ จัดเมื่อไรก็ได้ในสปรินท์โดยให้ทีมตกลงกันเอง ระหว่าง Product Owner และ Developer เพื่อชี้แจงรายละเอียดงาน ประเมินเวลาที่ใช้ในการพัฒนาชิ้นงาน และจัดลำดับความสำคัญของงาน

  • Product Owner อธิบาย User Story ต่างๆ ใน Product Backlog
  • งานที่มีลำดับความสำคัญสูงต้องมีรายละเอียดงานให้ครบ เพื่อให้ Developer สามารถประเมินความซับซ้อนและเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนางานได้อย่างแม่นยำ
  • Developer ประเมินความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนางาน
  • Product Owner นำผลการประเมินมาช่วยจัดลำดับความสำคัญใหม่
  • Product Owner สรุปงานที่เหลือใน Product Backlog เทียบกับงานที่ทำในสปรินท์ปัจจุบัน เพื่อดูว่างานทั้งหมดจะพัฒนาเสร็จเมื่อไร (สามารถใช้ Burndown Chart ช่วยประเมินเวลาที่จะพัฒนาได้)

Leave a comment

Design a site like this with WordPress.com
Get started